วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญและที่มาของนาฏศิลป์ไทย

ความสำคัญและที่มาของนาฏศิลป์ไทย

                ในสังคมของมนุษย์ที่เกิดมาในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ภาษา หรือเพศใดก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกชาติทุกภาษาจะต้องมีเป็นเอกลักษณ์สิ่งนั้น คือ ศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่มีใครสามารถแย่งชิงไปได้ และยังเป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของชาตินั้น ๆ ที่จะต้องหวงแหนและรักษามิไห้หมดสิ้นไป
                ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน  มีศิลปวัฒนธรรมที่บ่งถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  จนเป็นที่ชื่นชอบของนานาประเทศที่ได้พบเห็นความงดงามในศิลปวัฒนธรรมไทย ถึงแม้ว่าในสังคมปัจจุบัน  กำลังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากต่างชาติอันหลากหลายที่กำลังหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังสามารถอนุรักษ์และสืบทอดได้มาจนถึงทุกวันนี้  ก็คือ นาฏศิลป์ อันเป็นศิลปะประจำชาติที่คนไทยทุกคนควรช่วยกันรักษ์และให้การสนับสนุน เพื่อให้ศิลปะนี้คงอยู่สืบไปในอนาคต
               
ความหมายของนาฏศิลป์
                คำว่านาฏศิลป์      มีความหมายต่าง ๆ ดังนี้
                นาฏศิลป์               หมายถึง                ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
                นาฏศิลป์               หมายถึง                                การฟ้อนรำ
                นาฏศิลป์               หมายถึง                                ความช่ำชองในการฟ้องรำ
                นาฏศิลป์               หมายถึง                                การร้องรำ ทำเพลง ให้ความบันเทิงใจ อันประกอบด้วยความโน้มเอียงแห่งอารมณ์และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของนาฏศิลป์อยู่ที่การละครเป็นเอกหากแต่ศิลปะประเภทนี้จำต้องอาศัยดนตรีและขับร้องเข้าร่วมด้วย
                นาฏศิลป์               หมายถึง                การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ ด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจากการฟ้อนระ ระบำรำเต้นแล้ว ยังหมายถึง การ้องและการบรรเลงด้วย
                นาฏศิลป์               หมายถึง                                ศิลปะในการ้องรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงามมีแบบแผน ให้ความบันเทิงอันโน้มน้าวอารมณ์

และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรีลากรขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น แต่ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป คือ ศิลปะของการร้องรำทำเพลง
                คำว่า นาฏศิลป์ เป็นคำสมาส แยกได้เป็น 2 คำ คือ นาฏ และ ศิลป์
                นาฏ หมายถึง       การร่ายรำและการเคลื่อนไหวไปมา สันสฤตใช้รูปศัพท์คำว่า  นฤตย ภาษามคธใช้คำว่า นจจ และคำว่า นฤตย เป็นชื่ออย่างหนึ่งของการฟ้อนรำบวงทรวงพระผู้เป็นเทวาลัย โดยเลือกเอาจังหวะและท่ารำที่เป็นไปด้วยท่าเคารพสักการะ และเลือกตอนที่แสดงเป็นการกระทำนับเนื่องในชีวประวัติของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนคำว่า สจจ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ได้แก่ การฟ้อนรำ นับตั้งแต่การฟ้อนรำพื้นเมืองของชาวบ้านตลอดไปจนถึงการฟ้อนที่เรียกว่า ระบำของนางรำ ระบำเดี่ยว ระบำคู่ ระบำชุด
                ศิลปะ     ความหมายของศิลปะกว้างขวางออกไปตามความคิดของแต่ละแขนงสาขา ซึ่งจะกำหนดแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในสมัยแรกๆ ศิลปะหมายถึง การช่างทั่วๆ ไป ต้องใช้ฝีมือปฏิบัติโดยอาศัยมือ ความคิด และความชำนาญ ในการที่จะประกอบวัตถุนั้น ๆ ให้บังเกิดความงดงามประณีต ละเอียดอ่อน ก่อให้เกิดความชื่นชมยินดีแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
                ศิลปะ     อาจหมายถึง  การแสดงออกเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ การลอกเลียนแบบ การถ่ายทอดความหมายต่าง ๆ หรืเป็นสิ่งที่มนุษย์เกิดจินตนาการในอันที่จะแสดงคุณค่า แห่งความงามออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หรือได้พบเห็นจากธรรมชาติ แล้วนำมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นให้มีความวิจิตรละเอียดอ่อนซาบซึ้ง
                ศิลปะนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกลักษณะ ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งที่จำนำศิลปะอันสูงส่งปรากฏแก่มวลมนุษย์ คือ แรงบันดาลใจ ศิลปะที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องให้ความเพลิดเพลิน นิยมยินดีซาบซึ้งแก่ผู้ดูผู้ชม รวมทั้งความคิด สติปัญญา ความงามด้านสุนทรียภาพ
                ศิลปะ  เป็นคำ ภาษาสันสฤต (ส. ศิลป; ป. สิปป ว่า มีฝีมือยอดเยี่ยม) ซึ่งหมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงามน่าพึงชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า “Arts”
                ศิลปะ  อาจแบ่งแยกออกตามความสำคัญดังนี้
วิจิตรศิลป์  หรือประณีตศิลป์ (Fine Arts) เป็นศิลปะแห่งความงามที่มุ่งหมายเพื่อช่วยสนองความต้องการทางอารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ นับเป็นศิลปะบริสุทธิ์ที่
สร้างสรรค์จากสติปัญญา จิตใจ ร่วมกับความเจริญทางด้านสุนทรียภาพของศิลปินแต่ละคน แสดงออกโดยใช้ฝีมือเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1.  วรรณกรรม (Literature)
2.  ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and Drama)
3.  จิตกรรม (Painting)
4.  ประติมากรรม (Sculpture)
5.  สถาปัตยกรรม (Architecture)
วิจิตรศิลป์ 5 ประเภทนี้  ก่อให้เกิดอารมณ์และพุทธิปัญญา กล่าวคือ มนุษย์อาศัยศิลปะเพื่อแสวงหาความดี และความบันเทิงใจให้แก่จิตใจคน เห็นคุณค่าทางศาสนาและวรรณคดี ความสง่างามแห่งสถาปัตยกรรม บังเกิดความพอใจและมีอารมณ์คล้อยตามไปกับความรู้สึกนึกคิดของเรื่องราวและการแสดงออกของศิลปิน
2.  ประยุกศิลป์  (Applied Arts) เป็นศิลปะแห่งอัตถประโยชน์ เพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์และด้านวัตถุที่ก้าวหน้า โดยนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับหัตถกรรมและโภคภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน การประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย อาหาร  ซึ่งศิลปะในการจัดตกแต่งให้มีความงดงามส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจและอารมณ์
3.  มัณฑณศิลป์ (Decorative Arts) เป็นศิลปะแห่งการตกแต่งประดับประดา เช่น การตกแต่งสวน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ ห้องรับแขก โดยใช้ศิลปะในการจัดตกแต่งให้มีความงดงามส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจและอารมณ์
4.  อุตสาหกรรมศิลป์ หรือพาณิชยศิลป์ (Industrial or Commercial Arts) เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยส่วนใหญ่ ทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว หรือในโรงงานอันเป็นผลิตผลเพื่อการเงิน เช่น การผลิตเครื่องปั้นดินเผา งานไม้ งานโลหะ เป็นต้น ส่วนด้านพาณิชยศิลป์นั้น คือ ศิลปะเกี่ยวกับการค้า ซึ่งต้องพยายามออกแบบให้เหมาะสมหรือถูกรสนิยมของประชาชน ได้แก่ ศิลปะการโฆษณา การจัดตู้โชว์ ภาพโปสเตอร์
5.  ศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Arts) เป็นศิลปะเพื่อสนองตอบอารมณ์ของศิลปินในการแสดงผลงานของตนออกมาในรูปความคิดอิสระ โดยมิได้มุ่งหวังให้มีผลทางการเงินเป็นสำคัญ นับเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นเพื่อศิลปะโดยแท้จริง

6.  Plastic Arts เป็นศิลปะประเภทที่มีรูปทรง คือ มีคุณค่าเชิงสามมิติ (Three Dimensions) มีความกว้าง สูง(ยาว) และความลึก(มีปริมาตรและน้ำหนัก) ได้แก่ จิตรกรรมภาพพิมพ์ (Graphic Arts) รวมทั้งประติมากรรมและสถาปัตยกรรมด้วย
               
                ศิลปะที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามในแต่ละสาขาตามแนวต่าง ๆ การให้ความคิด การสร้างสรรค์แตกต่างกันออกไป สรุปรวมได้ว่า ศิลปะทุกประเภทมีจุดมุ่งหมายเป็นจุดเดียวกัน ก็คือ สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่นิยมยินดี ขัดเกลาความคิดและจิตใจให้ผ่องใส อันจะก่อให้เกิดความสุขแก่มวลมนุษย์โดยทั่วไป
                ศิลปะ  ได้แก่  สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยดัดแปลงจากธรรมชาติให้ประณีตงดงาม
                ดังนั้น คำว่า นาฏศิลป์  จึงประมวลได้ว่า คือ การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจาก หมายถึง การฟ้อนรำ ระบำรำเต้น ยังหมายถึงการร้องและการบรรเลงด้วย

ประมวลรายวิชา ศ31102

                                                                          

                                                         ประมวลวิชา(Course Eyllabus)

1. รหัสวิชา                                            31102
2. จำนวนหน่วยกิจ                            0.5  หน่วย
3. ชื่อวิชา                                               ศิลปะ3 (นาฏศิลป์)
4. ระดับชั้น                                    มัธยมศึกษาปีที่ 4   
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้                      ศิลปะ
6. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา            2/2553
7. ชื่อผู้สอน                                          นางสาวศิริลักษณ์  เนื่องจำนงค์
8. สถานภาพของวิชา                         พื้นฐาน
9. จำนวนคาบ                                      1 คาบ/สัปดาห์


10. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมายของนาฏศิลป์ไทย  ประเภท  คุณค่าและความงามตลอดจนวิธีการแสดงนาฏศิลป์  และศึกษาประวัติการแต่งกาย   เข้าใจประวัติการละครไทย  การละครตะวันออก  นาฏศิลป์นานาชาติ  รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมไทยกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย
11. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.  รู้ความหมายและมูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทยได้อย่างถูกต้อง
2.  มีความรู้และเข้าใจในประเภทของนาฏศิลป์ไทยและวิวัฒนาการของการละครไทยอย่างถูกต้อง
3. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าและความงามที่แสดงออกทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้อย่างถูกต้อง
4.  เข้าใจลักษณะท่ารำของละครไทย และรู้วิธีการฝึกหัดคัดเลือกผู้แสดง  เริ่มตั้งแต่ฝึกหัดจนออกแสดงได้
5.  วิเคราะห์ลักษณะการรำและการใช้นาฏยศัพท์ในการแสดงนาฏศิลป์ได้
6.   เข้าใจลักษณะการแต่งกายแต่ละประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
7.   เข้าใจประวัติวิวัฒนาการและประเภทของการละครไทยแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี
8.   เข้าใจความสัมพันธ์และประเภทของการละครตะวันออกได้อย่างถูกต้อง
9. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการแสดงมหรสพและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง มหรสพกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้
10. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการละเล่นพื้นเมืองและอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างการละเล่นพื้นเมืองกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้
11. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการแสดงงานมงคลและงานอวมงคล  และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงงานมงคลและงานอวมงคลกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้
12.  สามารถแยกแยะประเภทการแสดงนาฏศิลป์นานาชาติของแต่ละประเทศได้



12. แผนการเรียน / โครงการงาน

 หน่วยการเรียนรู้                                                     

                   กิจกรรมและเนื้อหา                                                                                     

      จำนวนคาบ

1

ปฐมนิเทศการเรียน

ชีวิตกับการสร้างสรรค์
1.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างรายวิชา ศิลปะ3 (นาฏศิลป์ไทย)
2.เข้าใจภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติและส่งตามกำหนดเวลาได้
3.เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลได้
4.เพื่อให้รู้แหล่งเรียนรู้ค้นคว้าเพิ่มเติม
5.เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบe-learning
            1


หน่วยการเรียนรู้

กิจกรรมและเนื้อหา

จำนวนคาบ
2
         



สุนทรียรสของโขนละครและมูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทย
·       สุนทรียรสของโขนละครไทย
มูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทย
2

2

หน่วยการเรียนรู้   
                         กิจกรรมและเนื้อหา                              
      จำนวนคาบ      
3
ประเภทของนาฏศิลป์ไทยและวิวัฒนาการของละครไทย
·       ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
·       วิวัฒนาการละครไทย
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ลักษณะดีเด่น คุณค่าและ
ความงาม ของนาฏศิลป์ไทย
·       ลีลาท่ารำ
·       บทเพลงร้องและทำนองเพลง
·       การแต่งกาย


4

1
1


2

 หน่วยการเรียนรู้  

                         กิจกรรมและเนื้อหา                              

      จำนวนคาบ   

4

วิธีแสดงนาฏศิลป์ไทย
·       การฝึกหัดคัดเลือกผู้แสดง
·       ลักษณะการรำ (รำเพลงหน้าพาทย์,รำบท)
·       นาฏยศัพท์
ประวัติการแต่งกาย
·       ความสำคัญของเครื่อง
แต่งกาย
·       ประเภทเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทย (แบบยืนเครื่อง,แบบพันทาง,แบบพื้นเมือง,แบบเบ็ดเตล็ด)
·       ส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย(พัสตราภรณ์,ศิราภรณ์,ถนิมพิมพาภรณ์)
4
2



2
 หน่วยการเรียนรู้  

                         กิจกรรมและเนื้อหา                              

      จำนวนคาบ   
5
ประวัติการละคร
ประวัติการละครไทย
·       ความหมายของละคร
·       ความมุ่งหมายและประโยชน์ของการแสดงละคร
·       ขั้นตอนการแสดงละคร
·       องค์ประกอบของละคร
·       ประวัติการละครไทย(สมัยน่านเจ้า-สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
·       ประเภทของละครไทย
ประวัติการละครตะวันออก
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม
การแสดงของการละครตะวันออก ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
นาฏศิลป์นานาชาติ
การแสดงนาฏศิลป์นานาชาติในทวีปเอเชียตะวันออก ได้แก่  ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ลาว กัมพูชา พม่า ทิเบต อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น

6





 หน่วยการเรียนรู้  

                         กิจกรรมและเนื้อหา                              

      จำนวนคาบ   
6
การแสดงที่เป็นศิลปะสืบเนื่องกันตามความนิยม
·       การแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร การละเล่นของหลวง หุ่นละครหลวง หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง เป็นต้น
·       การละเล่นพื้นเมือง
·       การแสดงพื้นเมือง
การแสดงในงานมงคลและงานอวมงคล
·       การแสดงที่แสดงได้ในงานมงคล
·       การแสดงที่แสดงได้ในงานอวมงคล
การแสดงที่แสดงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล

3





13. กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. การบรรยายเนื้อหาในห้องเรียน
2. การฝึกทักษะและปฏิบัติตามเนื้อหา
3. นักเรียนศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียนด้วยตนเอง
4. การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นภายในกลุ่ม
5. การทำรายงานและเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
6. การฉายภาพนิ่งหรือวีดีทัศน์ประกอบการเรียน
7. การเรียนรู้แบบสาธิต
14. การวัดและประเมินผล      
1. ประเมินจากงานที่มอมหมาย                                      40          คะแนน
2. ประเมินจากการสอบกลางภาค                                   30          คะแนน
3. ประเมินจากการสอบปลายภาค                                   20          คะแนน
4. ประเมินจากพฤติกรรมการเรียน                                 10          คะแนน
                                             รวม                    100        คะแนน



15. แหล่งการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือที่ว่าด้วย สุนทรียนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ (ไม่จำกัดผู้แต่งและภาษา )
2. ห้องสมุดโรงเรียน
3. ใบความรู้
4. ภาพประกอบ
5. Internet เช่นwww.google.com. www.sanook.com
6. วีดีทัศน์การแสดงประเภทต่าง ๆ
7. ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุนทรียนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์
16.กำหนดและนัดหมายส่งงาน
 1. ให้นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของคุณค่าและความงามของนาฏศิลป์ไทยเป็นรูปเล่มหนังสืออ่านเสริมและ Program Power Point  หลังจากได้รับมอบหมายงาน  3  สัปดาห์ งานเดี่ยว
 2. รำวงมาตรฐาน 5 เพลง งานเดี่ยว
 3.งานกลุ่ม   การจัดการแสดงพื้นเมืองในรูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ภาค กำหนดการแสดง  วันที่  10  ..  2554

  





                ลงชื่อ………………………………
                                                                                                                   (นางสาวศิริลักษณ์  เนื่องจำนงค์)
                                                                                                                                      ครูผู้สอน