ประมวลวิชา(Course Eyllabus)
1. รหัสวิชา ศ 31102
2. จำนวนหน่วยกิจ 0.5 หน่วย
3. ชื่อวิชา ศิลปะ3 (นาฏศิลป์)
4. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
6. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา 2/2553
7. ชื่อผู้สอน นางสาวศิริลักษณ์ เนื่องจำนงค์
8. สถานภาพของวิชา พื้นฐาน
9. จำนวนคาบ 1 คาบ/สัปดาห์
10. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมายของนาฏศิลป์ไทย ประเภท คุณค่าและความงามตลอดจนวิธีการแสดงนาฏศิลป์ และศึกษาประวัติการแต่งกาย เข้าใจประวัติการละครไทย การละครตะวันออก นาฏศิลป์นานาชาติ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมไทยกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย
11. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้ความหมายและมูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทยได้อย่างถูกต้อง |
2. มีความรู้และเข้าใจในประเภทของนาฏศิลป์ไทยและวิวัฒนาการของการละครไทยอย่างถูกต้อง |
3. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าและความงามที่แสดงออกทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้อย่างถูกต้อง |
4. เข้าใจลักษณะท่ารำของละครไทย และรู้วิธีการฝึกหัดคัดเลือกผู้แสดง เริ่มตั้งแต่ฝึกหัดจนออกแสดงได้ |
5. วิเคราะห์ลักษณะการรำและการใช้นาฏยศัพท์ในการแสดงนาฏศิลป์ได้ |
6. เข้าใจลักษณะการแต่งกายแต่ละประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้ |
7. เข้าใจประวัติวิวัฒนาการและประเภทของการละครไทยแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี |
8. เข้าใจความสัมพันธ์และประเภทของการละครตะวันออกได้อย่างถูกต้อง |
9. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการแสดงมหรสพและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง มหรสพกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้ |
10. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการละเล่นพื้นเมืองและอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างการละเล่นพื้นเมืองกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้ |
11. เข้าใจความหมายและวิธีการแสดงของการแสดงงานมงคลและงานอวมงคล และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงงานมงคลและงานอวมงคลกับวัฒนธรรมจารีตประเพณีของไทยได้ |
12. สามารถแยกแยะประเภทการแสดงนาฏศิลป์นานาชาติของแต่ละประเทศได้ |
12. แผนการเรียน / โครงการงาน
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
1 | ปฐมนิเทศการเรียนชีวิตกับการสร้างสรรค์1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างรายวิชา ศิลปะ3 (นาฏศิลป์ไทย) 2.เข้าใจภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติและส่งตามกำหนดเวลาได้ 3.เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลได้ 4.เพื่อให้รู้แหล่งเรียนรู้ค้นคว้าเพิ่มเติม 5.เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบe-learning | 1 |
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
2 | สุนทรียรสของโขนละครและมูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทย · สุนทรียรสของโขนละครไทย มูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ไทย | 2 2 |
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
3 | ประเภทของนาฏศิลป์ไทยและวิวัฒนาการของละครไทย · ประเภทของนาฏศิลป์ไทย · วิวัฒนาการละครไทย เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ลักษณะดีเด่น คุณค่าและ ความงาม ของนาฏศิลป์ไทย · ลีลาท่ารำ · บทเพลงร้องและทำนองเพลง · การแต่งกาย | 4 1 1 2 |
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
4 | วิธีแสดงนาฏศิลป์ไทย · การฝึกหัดคัดเลือกผู้แสดง · ลักษณะการรำ (รำเพลงหน้าพาทย์,รำบท) · นาฏยศัพท์ ประวัติการแต่งกาย · ความสำคัญของเครื่อง แต่งกาย · ประเภทเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทย (แบบยืนเครื่อง,แบบพันทาง,แบบพื้นเมือง,แบบเบ็ดเตล็ด) · ส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย(พัสตราภรณ์,ศิราภรณ์,ถนิมพิมพาภรณ์) | 4 2 2 |
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
5 | ประวัติการละคร ประวัติการละครไทย · ความหมายของละคร · ความมุ่งหมายและประโยชน์ของการแสดงละคร · ขั้นตอนการแสดงละคร · องค์ประกอบของละคร · ประวัติการละครไทย(สมัยน่านเจ้า-สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) · ประเภทของละครไทย ประวัติการละครตะวันออก ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม การแสดงของการละครตะวันออก ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นาฏศิลป์นานาชาติ การแสดงนาฏศิลป์นานาชาติในทวีปเอเชียตะวันออก ได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ลาว กัมพูชา พม่า ทิเบต อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น | 6 |
หน่วยการเรียนรู้ | กิจกรรมและเนื้อหา | จำนวนคาบ |
6 | การแสดงที่เป็นศิลปะสืบเนื่องกันตามความนิยม · การแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร การละเล่นของหลวง หุ่นละครหลวง หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง เป็นต้น · การละเล่นพื้นเมือง · การแสดงพื้นเมือง การแสดงในงานมงคลและงานอวมงคล · การแสดงที่แสดงได้ในงานมงคล · การแสดงที่แสดงได้ในงานอวมงคล การแสดงที่แสดงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล | 3 |
13. กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. การบรรยายเนื้อหาในห้องเรียน
2. การฝึกทักษะและปฏิบัติตามเนื้อหา
3. นักเรียนศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียนด้วยตนเอง
4. การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นภายในกลุ่ม
5. การทำรายงานและเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
6. การฉายภาพนิ่งหรือวีดีทัศน์ประกอบการเรียน
7. การเรียนรู้แบบสาธิต
14. การวัดและประเมินผล
1. ประเมินจากงานที่มอมหมาย 40 คะแนน
2. ประเมินจากการสอบกลางภาค 30 คะแนน
3. ประเมินจากการสอบปลายภาค 20 คะแนน
4. ประเมินจากพฤติกรรมการเรียน 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน
15. แหล่งการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือที่ว่าด้วย สุนทรียนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ (ไม่จำกัดผู้แต่งและภาษา )
2. ห้องสมุดโรงเรียน
3. ใบความรู้
4. ภาพประกอบ
5. Internet เช่นwww.google.com. www.sanook.com
6. วีดีทัศน์การแสดงประเภทต่าง ๆ
7. ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุนทรียนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์
16.กำหนดและนัดหมายส่งงาน
1. ให้นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของคุณค่าและความงามของนาฏศิลป์ไทยเป็นรูปเล่มหนังสืออ่านเสริมและ Program Power Point หลังจากได้รับมอบหมายงาน 3 สัปดาห์ งานเดี่ยว
2. รำวงมาตรฐาน 5 เพลง งานเดี่ยว
3.งานกลุ่ม การจัดการแสดงพื้นเมืองในรูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ภาค กำหนดการแสดง วันที่ 10 ก.พ. 2554
ลงชื่อ………………………………
(นางสาวศิริลักษณ์ เนื่องจำนงค์)
ครูผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น